dimanche 6 octobre 2013

                                 

Bonjour!! Tout le monde
Nous sommes " Bonne idée "
On vous présente " Le Chian Mark "





โครงงานเรื่องเชี่ยนหมาก
ประกอบรายวิชา
ภาษาฝรั่งเศสเพื่อการท่องเที่ยว
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/8
โรงเรียนนวมินทราชูทิศ พายัพ

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน




M.Christophe FAURY


M.Vincent ROBERT


M.Jean DELAIVE

สมาชิกในกลุ่ม
นายเพชร จิตรชื้น              หัวหน้ากลุ่ม      Cliquez ici
       นายกัมปนาท ขุนวรรณ์            รองหัวหน้า      Cliquez ici  
       นางสาวพานุกา จอมเดช         เลขานุการ      Cliquez ici   
 นายกิตติพงศ์ เพียบเพียร          สมาชิก       Cliquez ici
นายสิทธิโชค ทวีพัฒน์           สมาชิก        Cliquez ici

หลักการและเหตุผล
          เชี่ยนหมากเป็นภาชนะที่สำคัญสำหรับใส่หมากพลูของผู้สูงอายุ เป็นวัฒนธรรมที่สืบทอดต่อกันมาจากรุ่น สู่รุ่น เป็นธรรมเนียมพื้นบ้านในการต้อนรับแขกในสมัยโบราณ ที่เจ้าของบ้านจะยกเชี่ยนหมากมาต้อนรับและรับประทานกันไป คุยกันไป เพื่อให้บรรยากาศเป็นกันเอง และสามารถแสดงถึงฐานะของเจ้าของได้เพราะทำจากวัสดุที่แตกต่างกันไปตามฐานะ เชี่ยนหมากของชาวบ้านธรรมดาอาจทำด้วยไม้ หรือ กล่องพลาสติก หากเจ้าของมีฐานะก็จะทำด้วย ทองเหลือง ทองลงยา ไม้แกะสลัก หรือเป็นเครื่องถมเงินถมทองประดับมุข ซึ่งในปัจจุบันนี้ได้เลือนหายไปตามกาลเวลา หากแต่ยังมีผู้สูงอายุจำนวนน้อย เท่านั้นจีบหมากพลูใส่เชี่ยนหมากไว้รับประทานเอง หรือ ถวายพระ ทางกลุ่มของพวกเราจึงได้ศึกษาเกี่ยวกับเชี่ยนหมากของไทยว่ามีลักษณะและส่วนประกอบอย่างไรเพื่อสืบทอดและส่งเสริมให้เชี่ยนหมากอยู่คู่กับสังคมไทยต่อไป


วัตถุประสงค์
1.เพื่ออนุรักษ์วัฒนธรรมและประเพณีอันดีงามของไทยให้สืบเนื่องต่อไป
2.เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงค่านิยมของคนไทยในสมัยโบราณ  
3.เพื่อเป็นสื่อที่ให้ความรู้แก่ชาวไทยและนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ
4.เพื่อเป็นจุดสนใจให้นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเข้ามาเที่ยวในประเทศไทย
5.เพื่อฝึกใช้ภาษาฝรั่งเศสเพื่อการสื่อสารในการนำเสนอข้อมูล

       
  แหล่งเรียนรู้

1.หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่







2.หอสมุดรัชมังคลาภิเษกเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่






3.ตลาดวโรรส
    







ขั้นตอนการดำเนินงาน

ขั้นเตรียมงาน
1.  ประชุมกับสมาชิกในกลุ่มเพื่อแสดงความคิดเห็นหัวข้อโครงงาน
2.  ทำโครงร่างของโครงงาน
3.    มอบหมายงานแก่สมาชิกในกลุ่ม ตามความถนัด
4.  ศึกษาข้อมูล รวบรวมและสำรวจแหล่งข้อมูลที่น่าสนใจ
5.  เตรียมขั้นตอนการปฎิบัติงาน

 ขั้นปฏิบัติงาน
1.   เขียนปฎิทินการดำเนินงานและกำหนดวัน เวลา 
2.   เดินทางไปยังแหล่งเรียนรู้ เพื่อสำรวจและรวบรวมข้อมูลพร้อมและถ่ายภาพประกอบกิจกรรม
3.   สอบถามวิทยากรและคุณครู ผู้ให้ความรู้และคำแนะนำต่างๆ ต่อการทำโครงงาน
4.   จดบันทึกข้อมูลที่สำคัญต่อการทำโครงงานเพื่อเป็นหลักฐานในการทำงาน 
5.   สืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมทาง อินเตอร์เน็ตและห้องสมุด
6.   รายงานความก้าวหน้าของโครงงานให้แก่ครูปาริชาติ สุทธิเวทย์
7.  สร้างบล็อกและเรียบเรียงข้อมูลลงในบล็อก
8.  มอบหมายหน้าที่ในการแปลข้อมูลจากภาษาไทยให้เป็นภาษาฝรั่งเศสในแต่ละหัวข้อให้กับสมาชิกในกลุ่ม
9. นำข้อมูลภาษาฝรั่งเศสให้ M.Christophe FAURY ตรวจและแก้ไข
10. นำเสนอโครงงานต่อคุณครูปาริชาติ สุทธิเวทย์ เพื่อตรวจสอบข้อมูลและ ให้คำแนะนำแก้ไข


ขั้นสรุปผล

1.  นำข้อมูลที่ผ่านการตรวจสอบและแก้ไขทั้งภาษาไทยและภาษาฝรั่งเศสขึ้น Blog
2.  จัดทำรูปเล่มโครงงาน
3จัดทำแผ่นพับโครงงาน
4. นำเสนอ Blog


ผลที่คาดว่าจะได้รับ
      กลุ่มของเราคิดว่าการที่เราการทำโครงงานเรื่องเชี่ยนหมากนี้จะส่งเสริมให้คนไทยได้รับรู้และตระหนักถึงการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีของไทยเอาไว้เพื่อให้คนรุ่นหลังได้รับทราบถึงประวัติความเป็นมาของเชี่ยนหมากและค่านิยมในแต่ละยุคสมัย อีกทั้งยังเป็นสิ่งที่น่าสนใจให้ชาวต่างชาติมาท่องเที่ยวและมาศึกษาวัฒนธรรมประเพณีในประเทศไทยมากยิ่งขึ้น


ปัญหาในการทำโครงงาน
1.สมาชิกในกลุ่มไม่มาตรงตามเวลานัดทำให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างล่าช้า
2.
เมื่อมอบหมายงานแล้วงานไม่เสร็จตามเวลาที่เราได้กำหนดเอาไว้ 
3.สมาชิกทำงานได้ไม่ถูกต้อง ไม่สวยงาม
4.แหล่งการเรียนรู้ปิดปรับปรุง ทำให้เสียเวลา

แนวทางการแก้ปัญหา
1.สมาชิกในกลุ่มควรตระหนักและให้ความสำคัญถึงการทำงานให้มากขึ้นกว่านี้
2.
ตรงต่อเวลาและตั้งใจในการทำงานที่หัวหน้ากลุ่มกำหนด
3.
ศึกษาหาข้อมูลของแหล่งเรียนรู้ก่อนไปศึกษา






Cliquez le sur titre





ขอขอบคุณ 
ภาพ ข้อมูล และเพลงประกอบการสร้าง Blog 


คุณยายอัมพร ชัยมงคล  
ตลาดวโรรส ต. ช้างม่อย อ. เมือง จ. เชียงใหม่